อ่านบทสัมภาษณ์พระธรรมราชานุวัตร เรื่องการจัดการวัด

อ่านบทสัมภาษณ์พระธรรมราชานุวัตร เรื่องการจัดการวัด


วันนี้นั่งค้นหาข้อมูลบางประการทางอินเทอร์เนต แล้วก็บังเอิญเจอกับบทสัมภาษณ์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระธรรมราชานุวัตร เรื่องการบริหารจัดการวัด จึงขออนุญาตนำมาลงไว้ เพื่อเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปได้รับทราบและนำไปเป็นกุศโลบายในการปรับใช้ต่อไป และขอขอบคุณผู้สัมภาษณ์ มา ณ ที่นี้ด้วย



ผู้สัมภาษณ์ ๑   หลักการบริหารวัดพระแก้วหลวงพ่อดำเนินการมีแนวนโยบายอย่างไรบ้างในการจัดการบริหารภายใน๑ ปี

พระธรรมราชานุวัตร  นโยบายหลวงพ่อคือ  พระและเณรต้องอยู่ร่วมกัน    แบ่งตามภูมิชั้นแบ่งตามชั้น  เน้นการกระจายอำนาจ   กระจายงาน   กระจายโอกาส ตามความถนัด  ตามความชัดเจน โดยต้องอาศัย  ภิกษุ  สามเณร  เป็นองค์ประกอบของหลักสูตร    เพื่อการพัฒนาคน    พัฒนางาน  ให้โอกาส  ร่วมกันรับผิดชอบ   ทุกๆส่วนดำเนินไปทิศทางเดียวกัน

ในการกระจายงานจะแบ่งได้ดังต่อไปนี้ ด้านการศึกษา หลวงพ่อมอบหมายให้ พระครูศรีรัตนากร (พระมหาดร.ทองสุข),ด้านการปกครอง มอบหมายให้พระครูสิริรัตสุนทร (พระมหาทวัญ),เป็นผู้ดูแล, ด้านเผยแพร่ มอบหมายให้พระครูสุธีสุตสุนทร(พระมหาดร.สมพงษ์) เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนพระครูรัตนปริยัตยาทร (พระมหาดร.ทองสุข) ดูแลด้านสาธารณูปการรับผิดชอบเรื่องการห่มผ้าสามเณร แบ่งเขตกวาดวัด เป็นต้น

เมื่อกระจายงานโดยมอบหมายให้แต่ละส่วนไปผิดชอบบริหารกันเองแล้ว  ในวัดพระแก้วพระภิกษุ สามเณร ทุกรูป/องค์   ต้องร่วมกันรับผิดชอบ ทั้งในด้าน  ทำให้วัดมีระเบียบ  สะดวก   สะอาด  ถูกสุขลักษณะ  สร้างนิสัยและสะสาง  ให้ขบวนการจัดการที่เป็นระบบเพื่อเป็นระเบียบปฏิบัติแบบแผนที่ถูกต้องชัดเจน

ในความหมายก็คือ  วัดต้องมีระเบียบ พัฒนาวัดให้สะอาด  ขจัดสิ่งปฏิกูล  เพราะว่าวัดพระแก้วไม่ใช่ของใคร   พระภิกษุสามเณรเป็นเพียงผู้อาศัย  แต่ว่าจะอาศัยอย่างไร  อย่างกาฝากหรือกล้วยไม้  ที่งดงาม ต่อผู้พบเห็นของประชาชนทั่วไป

ผู้สัมภาษณ์ ๒  เมื่อเดินเข้ามาในบริเวณวัด จะเห็นว่ามีตู้บริจาคน้อยมาก หลวงพ่อมีโครงการทำอย่างไรหรือนโยบายเข้าวัดไม่เสียสตางค์หรือคะ

พระธรรมราชานุวัตร มี  ตู้บริจาค แต่มีน้อย เพราะ  ใน  พระไตรปิฎก กล่าวไว้ว่า  วัดเป็นเหมือนขุมทรัพย์  ขุมทรัพย์อยู่ที่สมอง  เราต้องฉลาดในการเปิดขุมทรัพย์  และทำอย่างไร  ให้ได้งานได้คน และได้บารมีไปพร้อมกัน  

ผู้สัมภาษณ์ ๓  การปฏิบัติธรรมทุกวันเสาร์ที่จังหวัดเชียงรายในทุกวัดเป็นโครงการของหลวงพ่อหรือคะเพราะวัดที่อื่นไม่ค่อยเห็นโครงการนี้เลย เท่าที่เคยอยู่มาคะ

พระธรรมราชานุวัตร วัดเป็นจุดศูนย์กลางเรียนรู้ทางศาสนา ในด้านการสืบทอดพระพุทธศาสนานั้นหน้าที่ของพระสงฆ์คือเผยแพร่พระพุทธศาสนาจึงวางนโยบายให้วัดต่างๆทั่วภาค๖คือ  จังหวัด   เชียงราย   พะเยา   แพร่ น่านให้มีการสวดมนต์ปฏิบัติธรรมทุกวันเสาร์ในเวลา๑๘.ooน.-๒๐.ooน.โดยนำร่องที่วัดพระแก้วก่อนโดยมอบหมายให้มอบหมายให้พระครูสุธีสุตสุนทร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสฝ่ายเผยแพร่ ผ.อ. มจร.ห้องเรียนเป็นผู้รับผิดชอบ

โครงการนี้  ถ้าพระครูสุธีสุตสุนทรไม่ว่างหลวงพ่อก็จะลงไปเองถ้าว่าง แต่ถ้าพระครูสุธีสุตสุนทรว่างก็ให้ดำเนินการไป

ผู้สัมภาษณ์ ๔  ในการสวดมนต์ปฏิบัติธรรมใช้ภาษาบาลีเพราะอะไรคะ  แล้วเรา ปฏิบัติธรรมเพื่ออะไรค่ะ

พระธรรมราชานุวัตร  การสวดมนต์ต่างๆใช้ภาษาบาลีนั้นจะได้สวดไปทิศทางเดียวกัน เป็นแนวทางปฏิบัติ  ไม่ใช่ที่หนึ่งก็สวดอย่างหนึ่ง เพราะภาษาทางศาสนาคือเอกลักษณ์  และที่สวดภาษาบาลีเพื่อทำให้เกิดสมาธิ   การสวดมนต์ปฏิบัติธรรม เพื่อให้มีศีล  สมาธิ  เมื่อเรามีสมาธิแล้วปัญญาก็จะตามมา เพราะพระจะดูน่าเลื่อมใสเมื่อสวดมนต์ผู้มีทำบุญจะได้บุญมาก ถ้าคนมาถึงก็ยกของให้พระก็เหมือนกับการให้ของกับคนทั่วไป

ผู้สัมภาษณ์๕  ในการบริหารด้านการศึกษาโรงเรียนปริยัติธรรมหลวงพ่อมีแนวนโยบายบริหารจัดการอย่างไรบ้างค่ะ

พระธรรมราชานุวัตร ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๓ โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนราษฎร์ในช่วงนั้น  รัฐไม่ได้ให้ความสำคัญในด้านการศึกษาของพระภิกษุ-สามเณร ต่อมาเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป   ในด้านการบริหาร  ด้านการศึกษาโรงเรียนปริยัติธรรม(โรงเรียนสามเณร) ได้เปิดสอนแต่ธรรม-บาลี  เพราะว่าเมื่อก่อนไม่มีโรงเรียน  ทำให้พระภิกษุ  สามเณรต้องเดินทางไปศึกษาที่อื่น ต่อมาจึงเปิดเป็นโรงเรียนพุทธิวงศ์วิทยา เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา หลวงพ่อพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ เป็นผู้ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕  เปิดสอนในระดับ ป.๕- ป.๗ และ ม.ศ. ๑- ๓

ปัจจุบันเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ -๖ รูป นักเรียน๓๐๐กว่ารูป หลวงพ่อจะถวายภัตตาหารเพลฟรี ให้ค่ารถ ให้ค่าเล่าเรียน ถวายจีวร หลวงพ่อเคยเป็นครูใหญ่ และเคยสอนวิชาภาษาบาลี  กับประวัติศาสตร์   ปัจจุบันมอบให้พระครูศรีรัตนากร (พระมหาดร.ทองสุข)เป็นผู้รับผิดชอบ การให้ความรู้การเรียนการสอน แก่สามเณรถือว่าเป็นการสืบทอด ศาสนทาญาติ  เพื่อ  นำมาซึ่งประโยชน์ในภายภาคหน้า  ในการช่วยดำรง  ดูแล   รักษา สืบทอดต่อไป

ผู้สัมภาษณ์  ๖ ในส่วนของห้องเรียนคือ มจร.ห้องเรียนวัดพระแก้วเชียงรายมีแนวนโยบายบริหารจัดการอย่างไรบ้างค่ะ

พระธรรมราชานุวัตร หลวงพ่อได้มอบหมายให้ พระมหาสมพงษ์(พระครูสุธีสุตสุนทร ดร.)เป็นผู้รับผิดชอบ ห้องเรียนวัดพระแก้ว ห้องเรียนฯได้เริ่มดำเนินจัดตั้ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ และตอนนี้ได้บรรจุเข้าแผนให้เป็นวิทยาสงฆ์ในปี๒๕๕๔  ซึ่งตอนนี้ศาลากลางจังหวัดเชียงรายได้ยกพื้นที่ให้ ย้ายไปเปิดการเรียนการสอนที่นั้นเพราะสถานที่เรียนไม่พอรองรับกับจำนวนนักศึกษา เมื่อขึ้นดอยที่ศาลากลางแล้ว  หลวงพ่อมีนโยบายจะสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรมที่นั้นเพราะปัจจุบันสถานที่ไม่พอจำนวนผู้คนที่สนใจ ทั้งนี้จะมีการใช้อาคารร่วมกับสำนักพุทธฯและวัฒนธรรมจังหวัด

ผู้สัมภาษณ์ ๗  เมื่อเดินเข้ามาในบริเวณวัดพระแก้ว  จะเห็นว่า  บรรยากาศ  ร่มรื่นสบายตา  เต็มไปด้วยต้นไม้และป้ายบอกชื่อของต้นไม้แต่ละชนิดมีการวางแผนและจัดการอย่างไรคะเพราะภายในบริเวณวัดมีเนื้อที่จำกัด

พระธรรมราชานุวัตร เมื่อก่อน  นโยบายที่ได้รับมอบหมายมาคือ โครงการต้นไม้พูดได้หลวงพ่อเห็นว่าเอาตะปูไปตอกที่ต้นไม้ให้ความรู้สึกไม่ดี  จึงคิดว่าทำอย่างไรให้เหมาะสม และให้ความรู้สึกดีต่อผู้พบเห็น หลวงพ่อจึงได้จัดทำป้าย ในการจัดทำป้ายต้องยกความดีให้ อ.ศรีวัลย์  ใจสุข อาจารย์จากราชภัฏเชียงราย ตอนแรกเป็น ป้ายพลาสติกเห็นว่า  แตกหักง่าย ตอนนี้กำลังเปลี่ยนใหม่ วัดพระแก้วมีพื้นที่ไม่กว้าง  หลวงพ่อจึงคิดว่าทำอย่างไรพื้นที่ให้ได้ประโยชน์ที่สุด ผู้ที่เข้าวัดจะใช้เวลาไหว้พระ ๓-๔ นาที เราจะมีนโยบายอย่างไรในการดึงให้คนอยู่วัดนานๆ หลวงพ่อจึงทำรอบโบสถ์ให้เป็นพื้นที่สีเขียว มีต้นไม้และดอกไม้ เพราะทั่วไปมักจะเป็นปูนซีเมนต์ วัดพระแก้วจึงทำการจัดสวนตามสภาพความเหมาะสม  โดยช่วยกันทำและรับผิดชอบกันเองแบ่งงานให้สามเณรรับผิดชอบในแต่ละส่วนไป ในพระไตรปิฎกมีคำสอนไว้ว่า ดอกไม้จะมีกลิ่นหอมตามลมแต่ศีลมีกลิ่นหอมทวนลม

ผู้สัมภาษณ์๘ โครงการที่ทำในช่วงนี้ที่หลวงพ่อดำเนินการมีโครงการทำอะไรบ้าง เจ้าคะ

พระธรรมราชานุวัตร มีเรื่อง  การปฏิบัติธรรมทุกวันเสาร์ที่วัดพระแก้ว  และงานฉลองสมโภช ๗๕๐ ปี ซึ่งจะขึ้นให้มีภายในปี๒๕๕๔และ หลวงพ่อมีนโยบายที่จะจัดทำ ๔ เรื่อง คือ   พุทธมณฑล(สถานที่ปฏิบัติธรรม)      วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย     พัฒนาวัดพระธาตุดอยตุง และสร้างตึกสงฆ์อาพาธ ซึ่งตอนนี้สร้างได้๕ ชั้นแล้ว

ผู้สัมภาษณ์ ๙ แล้วโครงการที่คิดแล้วยังไม่ได้ทำหรืออยากจะทำมีโครงการอะไรบ้าง  มีหรือไม่   อย่างไร เจ้าคะ

พระธรรมราชานุวัตร  มี  อยากทำเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนา   อยากให้วัด เป็นที่สืบทอดศาสนา  ศิลปะ  วัฒนธรรม  และรักษาสิ่งเรียนรู้ทางประวิติศาสตร์  เพื่อให้ ประชาชนทั่วไปรับรู้เกี่ยวกับ  บุคคล  เหตุการณ์  สถานที่  มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อให้เกิด  การรักและหวงแหน  สืบทอด  และรักษาไว้ให้ดำรงต่อไปอยากจะให้วัดแต่วัด  มีสามเณรบรรยาย  สถานที่สำคัญ  ให้ความรู้เกี่ยวกับวัด  หรือคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม อยากมียุวทูตน้อยอย่างเช่นวัดพระอยากมีสามเณร สามเณรอยู่ที่ โฮงหลวงแสงแก้ว อยู่ที่หอพระหยก ที่พระอุโบสถคอยแนะนำและให้ความรู้แก่ญาติโยมที่มาเที่ยว

ขอบคุณ oknation.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น