ภาพอาคารสถานที่ ของโรงเรียน

ภาพอาคารสถานที่ ของโรงเรียน


วันนี้ขอเอาภาพสถานที่ของวัดพระแก้ว อำเภอเมืองจังหวัดเชียงรายและโรงเรียนพุทธิวงศ์วิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนของวัดพระแก้วบางส่วนมาลง เพื่อให้ผู้ที่หลงเข้ามาจะได้รับชม เป็นภาพอาคารเรียน และป้าซึ่งบอกให้รู้ว่าเป็นโรงเรียนในโครงการพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ซึ่งสมเด็จฯ ท่านทรงอุปถัมภ์หลายๆ ด้าน เช่น นมโรงเรียน เป็นต้น นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งทำให้โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา รู้สึกว่า สามารถจะทำงานเพื่อพระศาสนาได้มากยิ่งขึ้น
ซุ้มประตูโรงเรียน
หน้าอาคารเรียน
ป้ายโรงเรียนหน้าอาคาร
โรงเรียนมี 3 อาคาร
บริเวณลานหน้าอาคาร
หน้าอาคาร เช้านี้
ที่พักนักเรียนภายในวัด

อ่านบทสัมภาษณ์พระธรรมราชานุวัตร เรื่องการจัดการวัด

อ่านบทสัมภาษณ์พระธรรมราชานุวัตร เรื่องการจัดการวัด


วันนี้นั่งค้นหาข้อมูลบางประการทางอินเทอร์เนต แล้วก็บังเอิญเจอกับบทสัมภาษณ์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระธรรมราชานุวัตร เรื่องการบริหารจัดการวัด จึงขออนุญาตนำมาลงไว้ เพื่อเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปได้รับทราบและนำไปเป็นกุศโลบายในการปรับใช้ต่อไป และขอขอบคุณผู้สัมภาษณ์ มา ณ ที่นี้ด้วย



ผู้สัมภาษณ์ ๑   หลักการบริหารวัดพระแก้วหลวงพ่อดำเนินการมีแนวนโยบายอย่างไรบ้างในการจัดการบริหารภายใน๑ ปี

พระธรรมราชานุวัตร  นโยบายหลวงพ่อคือ  พระและเณรต้องอยู่ร่วมกัน    แบ่งตามภูมิชั้นแบ่งตามชั้น  เน้นการกระจายอำนาจ   กระจายงาน   กระจายโอกาส ตามความถนัด  ตามความชัดเจน โดยต้องอาศัย  ภิกษุ  สามเณร  เป็นองค์ประกอบของหลักสูตร    เพื่อการพัฒนาคน    พัฒนางาน  ให้โอกาส  ร่วมกันรับผิดชอบ   ทุกๆส่วนดำเนินไปทิศทางเดียวกัน

วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย : สถานที่ค้นพบพระแก้วมรกต

วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย : สถานที่ค้นพบพระแก้วมรกต


สถานภาพและที่ตั้งของวัด

วัดพระแก้ว  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี  ชนิดสามัญ มีเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 60 ตารางวา  ตั้งอยู่ที่ถนนไตรรัตน์  ตำบลเวียง  อำเภอเมืองเชียงราย  จังหวัดเชียงราย  ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจากวัดราษฎร์  เป็นพระอารามหลวง  เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2521

ก่อนที่จะมีชื่อว่าวัดพระแก้ว

เดิมเป็นวัดเก่าแก่  สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน  บริเวณนี้มีไม้ไผ่ชนิดหนึ่งคล้ายไผ่สีสุก  แต่ไม่มีหนาม  ชาวบ้านนิยมนำไปทำคันธนูและหน้าไม้  คงจะมีมากในบริเวณนี้  ชาวเชียงรายจึงเรียกว่า "วัดป่าเยียะ หรือวัดป่าญะ"  ต่อมาในปี พ.ศ.1977  ฟ้าผ่าเจดีย์วัดนี้  จึงได้พบพระพุทธรูปองค์หนึ่งเป็นปูนปั้น แล้วนำไปประดิษฐานไว้ในอุโบสถ ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิก(จมูก) กะเทาะออก เผยให้เป็นลักษณะเป็นแก้วสีเขียว จึงได้แกะปูนที่พอกออกจากองค์พระทั้งหมด จึงปรากฎให้เห็นเป็น พระแก้วมรกต  ชาวบ้านจึงเรียกชื่อเสียใหม่ว่า "วัดพระแก้ว"
วัดนี้จึงเป็นสถานที่ค้นพบพระแก้วมรกต หรือที่เรียกเป็นทางการว่า "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร" หรือ พระแก้วมรกต อันเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานครนั่นเอง

เกรดยังส่งไม่ครบ ใจเย็นๆ


แม้ว่า งานวัดผลของโรงเรียนพุทธวงศ์วิทยา วัดพระแก้ว ถนนไตรรัตน์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จะได้มีการประกาศกำหนดการเรื่องการประกาศเกรดของนักเรียนแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากบางวิชายังไม่ได้ส่งเกรด จึงทำให้ไม่สามารถประกาศให้นักเรียนได้ทราบในตอนนี้

เรื่องนี้ถึงครูอังคนาแน่! : เปรียบเทียบกับนักเรียนเรา




เรื่องนี้ถึงครูอังคนาแน่!!!! ประโยคนี้ฮิตที่สุดในอินเทอร์เนตในสัปดาห์ ต้นเดือนเมษายนนี้ คงยากหน่อยที่จะไม่มีเว็บไหนกล่าวถึงกัน พอเราได้ยินคำว่า ครูอังคนา ก็ทำให้อยากรู้ความเป็นมาและเรื่องราวว่าเป็นอย่างไรเหมือนกัน แล้วครูมีความเกี่ยวข้องกับใคร

ครั้งแรกที่ได้ยิน นึกไปว่า เป็นคำที่นักการเมืองเขาอภิปรายกันในสภาผู้แทนราษฎร์ แล้วต้องมีใครสักคนหนึ่งที่เป็นดาวเด่นและเป็นลูกศิษย์ของครูอังคนาหรือไม่ ท่านต้องเป็นครูที่ปรึกษาของห้องนั้นแน่ๆ จึงถูกผู้อภิปรายว่าให้ว่า ถ้าไม่......เรื่องนี้ ถึงครูอังคนาแน่ อันนี้คิดเองในตอนนั้น

กิจกรรมนอกสถานที่สำหรับสามเณรภาคฤดูร้อน

เหตุการณ์ที่เป็นกิจกรรมประจำที่ทางวัดพระแก้วทำอยู่ก็คือ สามเณรภาคฤดูร้อนจะมีโอกาสในการทำกิจกรรมนอกสถานที่ด้วย อย่างน้อย 2 อย่าง นั่นก็คือ

1 การออกรับบิณฑบาตร จำนวน 2 ครั้ง ที่เป็นของโครงการ คือ วันที่ 3 และ 6 เดือนเมษายน ทุกปี (แต่ก็อาจจะมีบ้างที่วัดอื่นจัดกิจกรรมขึ้นแล้วนิมนต์สามเณรเหล่านี้ไปร่วมจำนวน สิบหรือยี่สิบรูปเป็นต้น)
2 การไปทัศนศึกษา ถือว่าเป็นกิจกรรมที่จะทำให้สามเณรผู้บวชใหม่ได้ผ่อนคลายจากกิจกรรมประจำวัน ซึ่งจะไปไหว้พระ ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ภาพบางส่วนของสามเณรใหม่ภาคฤดูร้อน

มาถึงวัดนี้ ก็เป็นถ้วน 4 แล้ว ที่สามเณรใหม่ได้เข้ามาบวชเรียนในช่วงฤดูร้อน

เท่าที่ดูด้วยสายตา พบว่า สามเณรทั้งหลายมีการปฏิบัติและเรียนรู้ทฤษฎีได้เป็นอย่างดี ซึ่งตอนนี้ถือว่าอยู่ตัวมาก ถ้าเราเทียบจากวันแรกของการบวช/บรรพชา เด็กบางคนหลังจากการปลงผม/โกนหัวเสร็จแล้วมานุ่งผู้ขาวเพื่อรับศีลเป็นนาค ก็ปรากฎว่าร้องไห้จะไม่บวชเลยก็มี (แต่ก็บวช) หลังจากรับศีลแล้วเข้าร่วมขบวนแห่กลับมา หลังจากที่นุ่งผ้าเหลืองเสร็จแล้ว ที่ร้องไห้อยู่ก็ยังมี

สหชาติของพระพุทธเจ้า 7 อย่าง

"๗ สหชาติ ของพระพุทธเจ้า"

ครั้น พระนางสิริมหามายา พระราชมารดาของพระพุทธเจ้าเมื่อใกล้ถึงกำหนดพระประสูติกาล ก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปยังกรุงเทวทหะอันเป็นเมืองต้นตระกูลของพระนาง (ตามธรรมเนียมพราหมณ์ที่ฝ่ายหญิงจะต้องกลับไปคลอดที่บ้านบิดามารดา) เมื่อขบวนผ่านมาถึงอุทยานลุมพินีซึ่งตั้งอยู่ระหว่างนครทั้งสอง พระนางประชวรพระครรภ์ บรรดาข้าราชบริพาลก็รีบจัดที่ประสูติถวายภายใต้ต้นสาละใหญ่

โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน วัดพระแก้ว 3


นับตั้งแต่ วันที่ 2 เมษายน 2555 นี้เป็นต้นไป สามเณรใหม่ ซึ่งได้เข้าร่วมใน โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ปีที่ 19 ณ วัดพระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จะมีวัตรปฏิบัติเหมือนกันทั้งหมด ตั้งแต่เช้าตรู่จนกระทั่ง ตอนดึกของวันนั้น ซึ่งการปฏิบัตินี้ ไม่ได้ยกเว้นให้แก่สามเณรรูปใด ไม่ว่าจะเป็นใคร มาจากไหน อย่างไร ทางวัดเน้นเรื่องความเสมอภาค และ แน่นอนที่สุดคือเรื่องคุณธรรม การเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี และเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที
ตอนนี้ เป็นสามเณรไปทั้งหมดแล้วจำนวน 190 รูป ผู้เข้าบวชเป็นสามเณรภาคฤดูร้อนปีในมีตั้งแต่เด็กเล็ก คืออายุ 9 ปี ไปจนถึง 19 ปีเลยทีเดียว นับว่าปีนี้มีจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ของการบวชเช่นกัน

โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน วัดพระแก้ว 2

ในที่สุด วันนี้ก็มาถึง คือวันที่เริ่มต้นการปฏิบัติตาม "โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ปีที่ 19" ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง เทศบาลนครเชียงราย กับ วัดพระแก้ว อ.เมือง จ.เชียงราย ได้ดำเนินการตั้งแต่การรับสมัครผู้สนใจบรรพชา/บวชเรียนในช่วงฤดูร้อน เป็นเวลา 10 วัน